วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2556

เรื่องที่ 4 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศาสนา


ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศาสนา

ความหมายของศาสนา
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 ได้ให้คำนิยามของคำว่า ศาสนา ไว้ว่า ลัทธิความเชื่อถือของมนุษย์อันมีหลัก คือ แสดงกำเนิดและความสิ้นสุดของโลก เป็นต้น อันเป็นไปในฝ่ายปรมัตถ์ประการหนึ่ง แสดงหลักธรรมเกี่ยวกับบุญบาปอันเป็นไปในฝ่ายศีลธรรมประการหนึ่ง พร้อมทั้งลัทธิพิธีที่กระทำตามความเห็นหรือตามคำสั่งสอนในความเชื่อถือนั้น ๆ ศาสนาจึงมีความหมายในลักษณะต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1. ตรงกับภาษาอังกฤษว่า “Religion” คำในภษาละตินว่า “Religio” แปลว่า สัมพันธ์หรือ ผูกพันซึ่งหมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า” (Man and God) หรือ ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับเทพเจ้า” (Man and Gods) ด้วยการมอบศรัทธษบูชาพระเจ้าหรือเทพเจ้าผู้มีอำนาจเหนือตน และความเคารพยำเกรงศรัทธาดังกล่าวประกอบด้วยองค์ประกอบ 4 ประการ ดังนี้
1.1 เชื่อว่าพระเจ้าทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายทั้งปวงในจักรวาล
1.2 เชื่อว่าคำสอนศีลธรรมและกฎหมายเป็นสิ่งที่พระเจ้าหรือเทพเจ้าทรงกำหนด
1.3 เชื่อคำสอนของพระเจ้าหรือเทพเจ้าโดยไม่ต้องพิสูจน์
1.4 อุทิศตนแต่พระเจ้าหรือเทพเจ้า
2. ศาสนามาจากศัพท์เดิมในภาษาสันสฤกตว่า ศาสนตรงกับคำในภาษาบาลีว่า           “สาสนแปลว่า คำสั่งสอนหรือ การปกครองโดยมีความหมายตามลำดับ ดังต่อไปนี้
2.1 คำสั่งสอน แยกได้เป็น คำสั่งอันหมายถึงข้อห้ามทำความชั่วที่เรียกว่า ศีลหรือวินัย และเป็น คำสอนอันหมายถึงคำแนะนำให้ทำความดีที่เรียกว่า ธรรม เมื่อรวม คำสั่งและ คำสอนเข้าด้วยกัน จึงหมายถึง ศีลธรรม นั่นคือ มีทั้งข้อห้ามทำความชั่วและคำแนะนำให้ทำความดี
2.2 การปกครอง หมายถึง การปกครองจิตใจของตนเอง ความคุมดูแลตนเอง กล่าวตักเตือนตนเองอยู่เสมอ และรับผิดชอบการกระทำของตนเอง บุคคลผู้สามารถบังคับจิตใจตนได้ย่อมจะไม่ทำความชั่วทั้งในที่ลับและที่แจ้ง
ลัทธิ คือ คำสอนหรือหลักความเชื่อนั้นๆ ที่อาจจะเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น การเมือง เศรษฐกิจ การศึกษา ฯลฯ
1. เทวนิย เชื่อว่ามีพระเจ้า และนับถือพระเจ้าซึ่งพระเจ้านั้นเป็นทั้งผู้สร้างและกำหนดสรรพสิ่งบนโลกมนุษย์โดย
ที่ศาสนเทวนิยมยังสามารถจำแนกได้อีก 2 ประเภท ดังนี้
1.1 เอกเทวนิยม  เป็นศาสนาที่นับถือพระเจ้าองค์เดียว ได้แก่ ยูดาย คริสต์ อิสลาม ซิกข์ เป็นต้น
1.2 พหุเทวนิย  เป็นศาสนาที่นับถือพระเจ้าหลายเดียว เช่น ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
2. อเทวนิยม  ไม่เชื่อว่ามีพระเจ้า และเชื่อว่าทุกสิ่งนั้น ถ้าไม่เกิดจาก มนุษย์สร้าง ก็จะเป็น ธรรมชาติที่สร้างขึ้นมาและเชื่อมั่นในศักยภาพของ มนุษย์ เช่น พุทธ เชน เป็นต้น


ความเป็นมา
ศาสนาเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ มีมาตั้งแต่สมัยโบราณและถ่ายทอดมายังสังคมมนุษย์ในปัจจุบัน มูลเหตุที่ทำให้เกิดศาสนา สรุปได้ดังนี้
1. เกิดจากความไม่รู้ เนื่องด้วยมนุษย์สมัยโบราณไม่เข้าใจสาเหตุของปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เช่น ฝนตก ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า น้ำท่วม ความลึกลับของท้องทะเลและป่าเขา โดยมักเข้าใจว่าเกิดจากการกระทำของอำนาจอันศักดิ์สิทธิ์ (ซึ่งต่อมากำหนเรียกให้เป็นพระเจ้า) จึงเกิดเป็นความเชื่อถือศรัทธาในอำนาจเร้นลับเหล่านั้นและวิวัฒนาการจากความเชื่อมาเป็นศาสนาในที่สุด
2. เกิดจากความกลัว เพราะความไม่รู้ถึงสาเหตุของการเกิดปรากฏการณ์ทางธรรมชาติดังกล่าวข้างต้น ทำให้มนุษย์ในอดีตเกิดความกลัว กลัวทั้งภัยธรรมชาติ ความบาดเจ็บ และความตาย จึงต้องการหาที่พึ่งและกราบไหว้บูชาเพื่อให้อำนาจเร้นลับเหล่านั้นเกิดความพึงพอใจ ไม่ลงโทษ
3. เกิดจากความเลื่อมใสศรัทธา เมื่อมนุษย์รู้จักการกราบไหว้บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ด้วยความเลื่อมใสศรัทธา มีการปฏิบัติสืบต่อ ๆ กันมา และกำหนดเรียกให้เป็นพระเจ้า เทวดา ภูตผี วิญญาณ ฯลฯ ทำให้เกิดความรู้สึกเป็นสุขและปลอดภัย จากความเชื่อดังกล่าว จึงค่อย ๆ วิวัฒนาการกลายเป็นศาสนาในเวลาต่อมา
4. เกิดจากปัญญา เมื่อมนุษย์เจริญขึ้น รู้จักการใช้สติปัญญาและเหตุผลในการแก้ไขปัญหา ต้องการดับทุกข์ และแสวงหาความสุขในการดำเนินชีวิต ต้องการจัดระเบียบสังคมให้ผู้คนอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข จึงคิดค้นหลักธรรมคำสอนขึ้นมา ซึ่งได้กลายเป็นศาสนาในที่สุด
ความสำคัญของศาสนา
ศาสนาทุกศาสนาในโลก มีความสำคัญต่อมนุษย์และสังคม ดังนี้
1. เป็นที่พึ่งและที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ ศาสนาเป็นสถาบันแห่งความสงบร่มเย็น เมื่อใดมีมนุษย์ประสบปัญหาความทุกข์ ศาสนาจะทำหน้าที่เป็นที่พึ่งและที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ และช่วยแก้ไขปัญหาความทุกข์ให้คลี่คลายลงไป
2. เป็นกลไกสร้างความสามัคคี ความสงบและสันติสุขในสังคมมนุษย์ ศาสนาเป็นเครื่องมือช่วยให้มนุษย์รักใคร่สามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มีความรู้สึกเป็นพวกพ้องเดียวกัน ช่วยลดปัญหาความขัดแย้งได้มาก
3. เป็นเครื่องมืออบรมขัดเกลาจิตใจของมนุษย์ให้เป็นตนดี ศาสนาทุกศาสนามีหลักคำสอนให้มนุษย์ละเว้นความชั่ว กลับบาป และประพฤติตนเป็นคนดีของสังคม ทำให้ได้รับความเคารพนับถือ เป็นที่ยอมรับและไว้เนื้อเชื่อใจจากสังคม
4. เป็นมรดกอันล้ำค่าของมนุษยชาติ ศาสนาเป็นมรดกทางสังคมที่สำคัญยิ่งของมนุษย์ มีการถ่ายทอดสืบต่อกันมาหลายชั่วอายุคน ทั้งหลักคำสอน ศาสนสถาน ศาสนวัตถุ และศาสนพิธี ฯลฯ สะท้อนถึงความเจริญทางวัฒนธรรมของมนุษย์แต่ละเชื้อชาติ แต่ละสังคม
5. เป็นบ่อเกิดของศิลปวัฒนธรรม และพื้นฐานของขนบธรรมเนียมประเพณี เมื่อมนุษย์มีความศรัทธาอันแรงกล้าในศาสนาที่ตนนับถือ จะถ่ายทอดรู้สึกนึกคิดดังกล่าวลงในผลงานด้านศิลปกรรมต่าง ๆ เช่น ภาพจิตรกรรมฝาผนังในโบสถ์ ความงามด้านสถาปัตยกรรมของโบสถ์วิหารและวัดวาอารามต่าง ๆ
นอกจากนี้ ยังเป็นบ่อเกิดของขนบธรรมเนียมประเพณีในสังคมมนุษย์อีกมาก เช่น ธรรมเนียมการยกมือไหว้ของคนไทย การทำบุญตักบาตร และประเพณีหล่อและแห่เทียนเข้าพรรษาของชาวพุทธ เป็นต้น
6. เป็นแหล่งผลิตทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่าให้แก่สังคม โดยนำหลักธรรมคำสอนของศาสนามาช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตและพัฒนาตนเองให้เป็นคนดี มีวินัย และมีคุณค่าต่อสังคม เช่น การรู้จักใช้จ่ายอย่างประหยัด เก็บออมทรัพย์ที่หามาได้ และความกตัญญู ฯลฯ เพื่อให้เป็นสมาชิกที่ดีของสังคมประเทศชาติ
7. เป็นกำลังใจให้มนุษย์มีความเชื่อมั่นในการกระทำของตน ตราบใดที่มนุษย์ปฏิบัติตามแนวทางคำสอนของศาสนาที่ตนนับถือโดยเคร่งครัด จะเกิดความเชื่อมั่นในการกระทำของตนว่าเป็นการทำความดี เป็นการกระทำที่ถูกต้อง ไม่ย่อท้องต่อปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินชีวิต
องค์ประกอบของศาสนา
ศาสนา มีองค์ประกอบที่สำคัญ 6 ประการ ดังนี้
1. ศาสดา คือ ผู้ก่อตั้ง หรือผู้ประกาศศาสนา เช่น พระพุทธเจ้าเป็นศาสดาของศาสนาพุทธ พระนบี มุฮัมมัด เป็นศาสดาของศาสนาอิสลาม เป็นต้น
2. คัมภีร์ หรือหลักคำสอน คำสอนของศาสดาถูกรวบรวมไว้เป็นหมดหมู่และจารึกเป็นลายลักษณ์อักษร เช่น คัมภีร์พระไตรปิฎกของศาสนาพุทธ และคัมภีร์ไบเบิลของศาสนาคริสต์ เป็นต้น ศาสนาทุกศาสนาย่อมมีหลักคำสอนของตน โดยมีจุดมุ่งหมายให้ศาสนิกชนเป็นคนดี และอยู่ร่วมกันอย่างสงบสันติสุข
3. ผู้สืบทอดศาสนา ทุกศาสนาย่อมมีบุคคลทำหน้าที่เป็นผู้สืบทอดศาสนาให้ยั่งยืน เช่น ศาสนาพุทธมีภิกษุ สามเณร และพุทธศาสนิกชน ศาสนาอิสลาม ไม่มีนักบวชเหมือนศาสนาอื่น ๆ แต่มี อิหม่ามเป็นผู้นำในการประกอบศาสนกิจ และมีศาสนิกชนหรือประชาชนผู้นับถือที่เรียกว่า มุสลิมเป็นต้น
4. พิธีกรรม พิธีกรรมทางศาสนาส่วนใหญ่ เน้นการกระทำให้มีบรรยากาศของความศักดิ์สิทธิ์ เพื่อให้ผู้คนเกิดความเชื่อถือเลื่อมในศรัทธา เช่น พิธีสวดมนต์ไหว้พระของชาวพุทธ หรือการทำละหมาดของชาวมุสลิม เป็นต้น
5. สัญลักษณ์ ศาสนาส่วนใหญ่มีสัญลักษณ์เป็นเครื่องหมายของศาสนา เพื่อสื่อสารให้    ศาสนิกชนพวกเดียวกันเข้าใจตรงกัน เช่น ศาสนาคริสต์มีสัญลักษณ์เป็นรูปไม้กางเขน ศาสนาพุทธมีสัญลักษณ์เป็นธรรมจักรและกวางหมอบ (หรือแม้แต่พระพุทธรูป เป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไปว่าหมายถึงสัญลักษณ์ของศาสนาพุทธ)
6. ศาสนสถาน เป็นสถานที่ที่ศาสนิกชนมาชุมนุมปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนาร่วมกัน หรือเผยแผ่หลักคำสอน เช่น วัดในศาสนาพุทธ โบสถ์ในศาสนาคริสต์ และมัสยิดในศาสนาอิสลาม เป็นต้น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น