วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2556

เรื่องที่ 8 ภูมิปัญญากีฬาไทย

ภูมิปัญญากีฬาไทย

           กีฬาไทยจัดเป็นศิลปวัฒนธรรมไทยแขนงหนึ่งที่มีเอกลักษณ์ มีความงดงามและทรงคุณค่า ซึ่งบรรพบุรุษได้ค้นคิด สืบสาน ถ่ายทอดและพัฒนามาจนถึงทุกวันนี้ การเล่นกีฬานอกนจากจะช่วยให้ร่างกายได้เคลื่อนไหวกล้ามเนื้อ สร้างความแข็งแรงและห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บแล้ว กีฬาหลายประเภทยังช่วยให้ผู้เล่นได้ฝึกฝนสมาธิ มีความคิดสร้างสรรค์ มีไหวพริบปฎิภาน รู้จักแก้ปัญหาเฉพาะหน้า สามารถหลบหลีกคู่ต่อสู้ได้ กีฬาบางชนิดใช้ผู้เล่นเป็นหมู่คณะ ทำให้ผู้เล่นรู้จักมีความรักความสามัคคี ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเอง   มีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ตลอดจนเป็นคนมีน้ำใจเป็นนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ และรู้อภัย
          กีฬาไทยที่บรรพชนไทยค้นคิด และถ่ายทอดมาสู่ลูกหลาน บางชนิดกลายเป็นตำนานและความทรงจำ และบางชนิดยังคงมีการเล่นกันอยู่ แม้ว่าจะถูกปรับเปลี่ยนไปให้ทันยุคสมัยก็ตาม แต่ด้วยความสำนึกของความเป็นไทย เราควรร่วมกันสนับสนุนและร่วมส่งเสริม ภูมิปัญญากีฬาไทย ให้อนุชนรุ่นหลังได้รู้จักและร่วมกันอนุรักษ์ต่อไป



 สกา

        กีฬาระดับเทวดา และกษัตริย์ การประลองฝีมือที่ซับซ้อนและลึกซึ้ง ดั่งโบราณว่า เล่นสกาไม่ต่างจากฝึกฝนแก้ปัญหาชีวิต
        ผู้เล่นทั้ง 2 ฝ่ายนั่งคนละด้านของกระดาน คว่ำตัวสกา 2 ตัวไว้ที่มุมขวาสุด เรียกว่าเกิดหรือเจ้าเมือง ตัวสกาที่เหลือใส่ไว้ในหูช้าง ผู้เล่นทั้ง 2 ฝ่ายผลัดกันทอดบาสก์ทั้ง 2 ลูก แล้วนับแต้มลูกบาสก์ 2 ลูกรวมกัน ใครได้แต้มสูงกว่ามีสิทธิ์เริ่มทอดเดินก่อน เรียกว่า"ฉ่าง" เริ่มเดินด้วยการทอดลูกบาศก์โดยใช้กระบอกทอดเทลงที่เติ่งหรือโก่งโค้งลูกบาสก์จะลงไปตั้งที่กระดานสกา จากนั้นจึงเดินสกาตามแต้มหน้าลูกบาศก์ที่ทอดได้ ถ้าฝ่ายใดลงตัวสกายังไม่หมดทุกตัว แล้วทำการ "เกิด" จะถือว่ายังไม่ได้เกิด และถูกปรับแพ้ เรียกว่า"แพ้ปอด" ในกระดานนั้น
         อุปกรณ์สกา กระดาน ตัวสกา ลูกบาศก์ กระบอกทอด โก่งโค้ง


หมากรุก

   การประลองชั้นเชิงบนแผ่นกระดานด้วยสติปัญญา และไหวพริบ เพื่อเอาชนะคู่ต่อสู้ นี่คือศาสตร์และศิลป์ของตำนานการต่อสู้นับพันปี
        การเล่นหมากรุกจะมีผู้เล่น 2 ฝ่าย เวลาเล่นจะต้องหันหน้าเข้าหากัน วางกระดานหมากรุกไว้ตรงกลาง กระดานมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยม ตีตารางเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส 64 ช่อง แต่ละด้านมี 8 ช่อง แต่ละช่องเรียกว่าตา แต่ละฝ่ายตั้งตัวหมากในช่องแรกบนกระดานตรงด้านหน้าของตัวเอง เรียงจากซ้ายไปขวา ตาละ 1 ตัว เริ่มจาก เรือ ม้า โคน เม็ด ขุน โคน ม้า เรือ จากนั้นเว้นขึ้นไป 1 แถว เอาเบี้ยวางลงในแถวที่ 3 โดยเรียงตาละ 1 ตัว จนครบ 8 ตา เมื่อตั้งหมากเรียบร้อยก็เริ่มเล่นได้ โดยมีการเสี่ยง ผู้ชนะการเสี่ยงจะเป็นผู้เริ่มเดินก่อน แล้วผลัดกันเดินสลับกันไป หมากของแต่ละฝ่ายมี 16 ตัว แบ่งเป็น 6 พวก มีลักษณะและจำนวนดังนี้

เบี้ย รูปกลมแป้นเล็กๆ มี 8 ตัว
เรือ รูปกลมแป้นเหมือนกัน แต่ใหญ่กว่าเบี้ย มี 2 ตัว
ม้า รูปหัวม้า มี 2 ตัว
โคน รูปกลมสูง มี 2 ตัว
เม็ด รูปคล้ายโคน แต่เล็กกว่าและเตี้ยกว่า มี 1 ตัว
ขุน รูปทรงสูง ขนาดใหญ่ที่สุด มี 1 ตัว


หมากฮอส
    การประลองของปัญญาชน ที่ต้องชิงไหวชิงพริบ บนแผ่นกระดานของการทดสอบความสามารถของตนเอง
      กระดานหมากฮอสเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสเรียบ แบ่งแต่ละด้านออกเป็น 8 ช่องเท่าๆกัน จะได้ตารางย่อย 64 ช่อง กำหนดเป็นช่องสีเข้ม 32 ช่อง และช่องสีอ่อน 32 ช่องสลับกัน ผู้เล่น 2 ฝ่ายจะมีหมากฝ่ายละ 8 ตัว และมีสีต่างกัน เช่น ขาว และดำ เวลาตั้งกระดานให้วางตัวหมากอยู่บน 2 แถวแรกใกล้ตัวผู้เล่นแต่ละฝ่าย แถวละ 4 ตัว โดยวางฉพาะบนตาสีเดียวกัน ตัวหมากที่ใช้เดินบนกระดาน เมื่อเริ่มเล่นเรียกว่า"เบี้ย" จะเดินได้ครั้งละ 1 ตาโดยเฉียงไปข้างหน้าครั้งละ 1 ตา สลับกันเดินเพื่อบุกไปกินตัวหมากของฝ่ายตรงข้าม แล้วเดินไปจนสุดกระดานของฝ่ายตรงข้ามเพื่อเข้าฮอส ฮอลจะได้รับสิทธิ์พิเศษในการเดินกี่ตาก็ได้ในแนวเฉียง ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ฝ่ายใดที่สามารถกินหมากคู่ต่อสู้จนหมดกระดาน หรือไม่สามารถเดินหมากในกระดานได้เป็นฝ่ายชนะ



ว่าวไทย

     ศิลปะการเล่นกับสายลมบนฟ้า เพียงโครงไม้ไผ่ กระดาษสาและด้ายป่าน อาศัยจังหวะของสายลมกับความชำนาญ เกิดเป็นศิลปะการแข่งขันบนสนามท้องฟ้า
     ว่าวที่ใช้แข่งขันคือว่าวจุฬา ที่มีขนาดดอกตั้งแต่ 80 นิ้วขึ้นไป บางตัวยาวถึง 2 เมตร ส่วนว่าวปักเป้าจะมีขนาดเพียง 34.5 นิ้ว ถือว่าว่าวจุฬาได้เปรียบว่าวปักเป้าทั้งขนาดรูปร่างและอาวุธ จึงมีกติกาว่าต้องต่อให้ว่าวปักเป้า 2 ต่อ 1 เวลาแข่งขันว่าวจุฬาจะอยู่เหนือลม มีเส้นกั้นเขตระหว่าง 2 ฝ่าย และห้ามผู้เล่นของแต่ละฝ่ายล้ำแดนกัน ขณะแข่งขันมีการไขว่คว้าโฉบเฉี่ยวกัน ต่อเมื่อสายป่านตัดกันกับคู่ต่อสู้จนขาดและตกลงพื้นดิน กลับขึ้นท้องฟ้าอีกไม่ได้ หรือตกในเขตของคู่ต่อสู้ก็นับว่าแพ้ด้วยเช่นกัน



เรือพาย

       กีฬาที่รวมใจให้เป็นหนึ่งเดียวด้วยความปราดเปรียว และประสานจังหวะการพายของทุกคน พาเรือพายสู่จุดหมายด้วยพลังสามัคคี
      การแข่งขันเรือพายต้องมีฝีพายตั้งแต่ 2-3 คนขึ้นไป 5 คน 10 คน ไปจนถึง 30 คน แต่ไม่เกิน 50 คน ก่อนจะถึงเวลาแข่งขัน เรือพายทุกลำต้องจับสลากเพื่อประกบคู่แข่งขันมหดทุกลำ โดยให้ผู้แทนจับสลากก่อนตามกติกา ในใบสลากบอกชื่อเรือพาย บอกเที่ยวแข่งขัน บอกสายน้ำตะวันตก ตะวันออก เมื่อจับสลากได้แล้วกรรมการจะประกาศให้เรือพายทราบทันที ตัวอย่างเช่น เรือยาวชื่อนั้นอยู่สายน้ำตะวันออก คู่กับเรือยาวชื่อนั้นอยู่สายน้ำตะวันตก เที่ยวแข่งขันที่เท่านั้น ทำแบบนี้ทุกลำจนหมดเรือยาวที่ขึ้นทะเบียนไว้เป็นรอบ แข่งขันรอบที่ 1 ส่วนเรือพายที่เข้ารอบที่ 2-3 ปฎิบัติตามแบบเดียวกันจนเหลือเรือพายที่เข้ารอบชิงชนะที่ 1-2-3 ต้องจับสลากสายน้ำตะวันตก ตะวันออกอีกเป็นครั้งสุดท้าย จุดปล่อยเรือพายและจุดเส้นชัยสุดท้าย ให้กรรมการตัดสินแพ้ชนะ ในระหว่างจุดปล่อยเรือพายจนถึงจุดเส้นชัย มีทุ่นเครื่องหมายกันคู่แข่งขันเรือพายออกนอกเส้นทางที่กำหนดไว้ ถ้าเรือลำใดวิ่งออกนอกเส้นทางที่กำหนดไว้ ถือว่าผิดกติกา ต้องปรับให้แพ้ฟาวส์ แม้จะชนะก็ตาม


ตะกร้อลอดห่วง

     กีฬาแห่งน้ำใจและไมตรี ไม่มีแบ่งเพศแบ่งวัยและฝีมือ เล่นที่ไหน เมื่อไหร่ กับใครก็ได้ ขอให้มีลูกหวายกลมๆ เพียงลูกเดียว
   ตะกร้อลอดห่วง เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าตะกร้อลอดบ่วงหรือตะกร้อห่วงชัย เป็นกีฬาที่มีห่วงอยู่เบื้องสูง ผู้เล่นจะเตะตะกร้อให้โด่งขึ้นไปเข้าห่วง สนามที่ใช้ในการแข่งขันเป็นพื้นราบกว้าง 18 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 16 เมตร อยู่กลางแจ้ง จะแขวนห่วงชัยประกอบด้วยวงกลม 3 ห่วง ขนาดเท่ากัน เส้นผ่าศูนย์กลางปากห่วงกว้าง 45 เซนติเมตร แขวนสูงจากพื้น 5.75 เมตร มีผู้เล่น 1 ชุด มีจำนวนไม่ต่ำกว่า 6 คนและไม่เกิน 7 คน ต้องเตะให้ตะกร้อเข้าห่วงชัยให้มากที่สุดในเวลา 40 นาที ซึ่งใช้ท่าเตะ 30 ท่า แต่ละท่ามีคะแนนมากน้อยตามความยากง่ายของท่าเตะ


กระบี่กระบอง

   กีฬาที่มาจากศิลปะการต่อสู้ของไทย ไม่มีชาติใดเหมือน ได้รวมอาวุธหลายชนิเข้าไว้ด้วยกัน ช่วยพัฒนาทักษะรอบด้าน

      ชื่อกระบี่กระบองใช่จะมีอาวุธเพียง 2 อย่างเท่านั้น แต่กีฬาประเภทนี้ได้รวมอาวุธที่น่าสนใจมากมายนอกเหนือจากกระบี่กระบอง อาทิ ดาบ ง้าว พลอง ดั้ง เขน โล่ และไม้สั้น การเล่นกีฬาชนิดนี้จะต้องเป็นคู่กันเพื่อแข่งขันกับคู่อื่น กรรมการจะมีหลักเกณฑ์การตัดสินการแข่งขัน 4 ประเภท ได้แก่ การแต่งกายจะเป็นแบบนักรบโบราณหรือชาวบ้านก็ได้ แต่ต้องสวมมงคลทุกครั้ง ท่ารำต้องรำท่าเดียวไม่ต่ำกว่า 2 ท่า ลีลาท่ารำต้องเข้ากับจังหวะดนตรีและเหมาะสมกับอาวุธที่ใช้ การเดินแปลงคือการเดินเข้าหากันก่อนเริ่มต่อสู้ และสุดท้ายคือการต่อสู้ที่ถูกต้องตามหลักวิชาการต่อสู่ป้องกันตัว มีเหตุผลสมจริงในแต่ละท่าที่ใช้ และไม่เป็นการอนาจาร กำหนดเวลาแสดงคู่ละประมาณ 7 นาที


ฟันดาบ

     กีฬาของชายชาญทหารไทย ใช้เหตุผลและหลักวิชาการป้องกันตัว ต๋อสู้ แข่งขัน เพื่อชิงชัย ด้วยท่วงท่าอันสง่าและสวยงาม
       กีฬาฟันดาบ แบ่งเป็นกระบี่ชาย-หญิง ดาบสองมือชาย-หญิง และกระบี่ผสมดาบ 2 มือ(เฉพาะประเภททีม) กระบี่ทำด้วยหวายกลมและมีกระบังมือ ส่วนดาบ 2 มือนั้นเวลาแข่งขันต้องหุ้นนวมด้วย สนามแข่งขันเป็นรูปวงกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 8 เมตร แข่งขันกันเป็นยก ยกละ 4 นาที ยกเว้นกระบี่หญิงใช้เวลา 3 นาที การได้แต้มเสียแต้มนั้นดูจากการฟันถูกคู่ต่อสู้ การออกนอกเขตสนามหรืออาวุธหลุดมือ 2 ครั้ง ในยกเดียวกันจะเสีย 1 แต้ม


มวยไทย

     ภูมิปัญญาไทยที่สร้างความตื่นใจไปทั่วโลก บ่งบอกถึงการต่อสู้ที่มีพิษสงรอบตัวของบรรพบุรุษไทย ที่ได้นำศิลปะการใช้ส่วนต่างๆของร่างกาย ให้เป็นอาวุธที่ทั้งรุนแรงและสวยงาม
     มวยไทยเป็นการต่อสู้และการป้องกันตัวด้วยมือเปล่า นักมวยต้องสวมนวมที่มือ สวมกางเกงขาสั้นและใส่กระจับ ส่วนผู้ใดจะสวมปลอกรัดข้อเท้า และมีเครื่องลางของขลังผูกไว้ที่แขนท่อนบนก็ได้ ในการแข่งขันมีผู้ตัดสินชี้ขาดอยู่บนเวที 1 คน มีผู้ตัดสินให้คะแนนอยู่ข้างเวที 2 คนผู้จับเวลา 1 คน และแพทย์ประจำเวที 1 คน จำนวนยกในการแข่งขัน 5 ยก ยกละ 3 นาที พักระหว่างยก 2 นาที อวัยวะที่ใช้ในการแข่งขันได้คือ หมัด เท้า เข่า ศอก ศรีษะ เข้าต่อสู้ทำอันตรายฝ่ายตรงข้าม ขณะเดียวกันก็ปิดป้องตัวเองด้วย


วิ่งกระสอบ


ความสนุกสนานที่มาเป็นกระสอบ กีฬากลางแจ้งง่ายๆ ที่บรรพชนไทยคิดไว้ เมื่อหลายร้อยปีมาแล้ว
การวิ่งกระสอบ เป็นกีฬาพื้นเมืองของภาคกลาง โดยผู้เล่นใช้ 2 มือจับปากกระสอบให้เปิดกว้างแล้วก้าวเท้าทั้ง 2 ข้างสวมเข้าไปในกระสอบ แล้วนอนหงายเรียงแถวกันด้านหลังเส้นเริ่ม เป็นระยะห่างกันประมาณ 2 เมตร ให้ศรีษะจรดเส้นเริ่ม คือหันศรีษะไปทางเส้นชัยนั่นเอง เมื่อได้ยินสัญญาณเริ่มก็ลุกขึ้น แล้วกลับหลังหันวิ่งแข่งกันไปยังเส้นชัย ผู้ที่วิ่งถึงเส้นชัยก่อนเป็นผู้ชนะ


ชักเย่อ

     กีฬาที่ผนึกความสามัคคี ออกแรงดึงเชือกพร้อมๆกัน ให้อีกฝ่ายหนึ่งก้าวล้ำมาในแดนของเรา นั่นคือชัยชนะของความสามัคคี
     แบ่งผู้เล่นออกเป็น 2 ฝ่ายๆละกี่คนก็ได้ ตามแต่จะตกลงกัน เมื่อแบ่งพวกได้แล้วก็ขีดเส้นแบ่งแดน หัวแถวของทั้งสองฝ่ายเหยียดแขนจับเชือก ยึดแนวขนานกับพื้นทั้งสองมือ เชือกจะขนานกับพื้นและเส้นแบ่งแดน ผู้เล่นแต่ละฝ่ายจับเชือกจากหัวแถวเรียงต่อๆกัน เมื่อเริ่มเล่นต่างฝ่ายต่างต้องพยายามดึงให้ฝ่ายตรงข้ามหลุดล้ำเลยเข้ามาในแดนตน ฝ่ายใดหลุดล้ำถือเป็นฝ่ายแพ้



วิ่งเปรี้ยว

     กีฬาที่ใช้ความเร็ว ประสานความสามัคคี ชนะคู่ต่อสู้ หลบหลีกหากเพลี่ยงพล้ำ ก้าวล้ำหากชัยชนะอยู่แค่เอื้อม

     ผู้เล่นมีจำนวนตั้งแต่ 4 คนขึ้นไป โดยแบ่งผู้เล่นเป็น 2 ฝ่ายเท่าๆกัน สถานที่เล่นมักจะใช้ลานกว้าง และมีต้นไม้ 2 ต้นเป็นหลักแข่งกัน ซึ่งแต่ละฝ่ายจะต้องจัดแถวประจำที่หลักอขงตน เมื่อเริ่มเล่นคนที่อยู่หัวแถวจะต้องวิ่งไปอ้อมหลักของฝ่ายตรงข้าม จากนั้นวกกลับมาส่งผ้าให้กับผู้เล่นฝ่ายตนถัดไปที่หลักเป็นผู้วิ่งคนต่อไป ผู้เล่นของแต่ละฝ่ายต้องพยายามวิ่งกวดให้ทันและใช้ผ้าไล่ตีฝ่ายตรงข้าม หากฝ่ายใดไล่ตีได้ทัน ถือว่าเป็นผู้ชนะ


********************************************************************************









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น